บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
เวลาเรียน 8.30 - 11.30 น.
ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
โครงสร้างขององค์กรและการจัดระบบบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
1) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก
2) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดกลาง
3) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดใหญ่
การบริหารงาน
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
มีลักษณะการบริหารเฉพาะตัว โดยที่ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. นโยบาย
และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล
2. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
3.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ปรัชญา
นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
7. ความต้องการของชุมชน
การจัดประเภท และรูปแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย
1. การจัดแบ่งตามโครงสร้างการบริหารตามขนาด แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ
1) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก
2) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดกลาง
3) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดใหญ่
การจัดประเภท และรูปแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
ในประเทศไทย
ในประเทศไทย
2. การแบ่งตามรูปแบบตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ
(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 )พ.ศ. 2545 กล่าวไว้ใน มาตรา 15กำหนดการจัดการศึกษา
มี 3 รูปแบบ คือ)
1.รูปแบบในระบบโรงเรียน
2.รูปแบบนอกระบบโรงเรียน
3. รูปแบบการให้บริการแบบใหม่
คือ การรวมเด็กที่ผิดปกติและเด็กปกติไว้ด้วยกัน
โดยเรียกแบบนี้ว่า “Normalization”
3.รูปแบบตามอัธยาศัย
หลักในการบริหารงานในสถานพัฒนาปฐมวัย
1. การบริหารงานวิชาการ
เป็นการบริหารกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียน
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการสอนผู้เรียนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่สุด
2. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาปฐมวัย
คือ การปฏิบัติการใช้คนให้ทำงาน
อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีขบวนการต่าง ๆ
3. การบริหารงานธุรการและการเงินในสถานศึกษาปฐมวัย
- งานธุรการในสถานศึกษา
- งานการเงินในสถานศึกษาปฐมวัย
- งานสารบรรณในสถานศึกษาปฐมวัย
- งานทะเบียนและรายงาน
- งานรักษาความปลอดภัย
- งานการเงินและพัสดุ
- งานพัสดุ
4. การบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาปฐมวัย
คือ การดำเนินงาน
เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมในโรงเรียนโดยนักเรียนสมัครใจร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง
5.
การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
- การบริหารสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
- การบริหารสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมและประสบการณ์
การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุคปฏิรูป
ความหมาย
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
(School Based
Management)
คือ การบริหารโดยกระจายอำนาจทางการศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรงให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบและความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากที่สุด
หลักการในการบริหารแบบโรงเรียนเป็นฐาน
(School Based Management)
(School Based Management)
• หลักการกระจายอำนาจ
(Decentralization)
• หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration Involvement)
• หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน
( Return Power
to People)
• หลักการบริหารตนเอง (Self - managing)
• หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)
รูปแบบโรงเรียนที่ใช้การบริหารแบบโรงเรียนเป็นฐาน
• ผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก
(Administrative
Control School Council )
• บริหารโดยครูเป็นหลัก
(Professional
Control Council)
• การบริหารจัดการโดยชุมชนมีบทบาท
(Community
Control School Council)
• ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก
(Professional
Community Control School Council)
องค์กรแห่งการเรียนรู้
การนำไปใช้
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้เกี่ยวกับรายวิชาการจักการบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีทั้ง ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี ประเภท บทบาท หน้าที่ของผู้บริหาร รูปแบบ การจัดโครสร้าง ระบบงาน บุคลิกภาพ คุณลักษณะ การดำเนินการ การติดตามนิเทศ การส่งเสริม เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาในอนาคต
วิธีการสอน
ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
ระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา แนะนำการนำเสนอ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน มีใบบันทึกการเข้าเรียนเพื่อฝึกให้มีความรับผิดชอบในการมาเรียน
ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง
ประเมิน
ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน - มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น