บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560
เวลาเรียน 8.30 - 11.30 น.
ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร
2. ผู้นำตามการใช้อำนาจ
ความหมายและประเภทของผู้นำ
ผู้นำ
(Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ
เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้
ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ
แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ
มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย
ประเภทของผู้นำ
1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ
มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal)
เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ
จำแนกผู้นำประเภทนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ 1 ผู้นำแบบใช้พระเดช 2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ 3 ผู้นำแบบพ่อพระ
1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leadership) ผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ได้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาตามกฎหมายมีอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ราชการมาหรือเกิดขึ้นจากตัวผู้นั้น
หรือจากบุคลิกภาพของผู้นั้นเอง ผู้นำแบบนี้ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวง
ทบวง กรม เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หัวหน้ากอง และหัวหน้าแผนก เป็นต้น
1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ (Charismatic Leadership) ผู้นำที่ได้อำนาจเกิดขึ้นจากบุคลิกภาพอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นั้น
มิใช่อำนาจที่เกิดขึ้นจากตำแหน่งหน้าที่
ความสำเร็จในการครองใจและชนะใจของผู้นำประเภทนี้
ได้มาจากแรงศรัทธาที่ก่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับเกิดความเคารพนับถือและเป็นพลังที่จะช่วยผลักดันให้ร่วมจิตร่วมใจกัน
ปฏิบัติตามคำสั่งแนะนำด้วยความเต็มใจ ตัวอย่างได้แก่ มหาตมะคันธี ซึ่งสามารถใช้ภาวะการเป็นผู้นำครองใจชาวอินเดียนับเป็นจำนวนล้าน
ๆ คน ได้
1.3 ผู้นำแบบพ่อพระ (Symbolic Leadership) ผู้นำที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมิได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา
บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามเพราะเกิดแรงศรัทธา
หรือสัญญาลักษณ์ในตัวของผู้นั้นมากกว่า เช่น พระมหากษัตริย์
ซึ่งเป็นองค์ประมุขและสัญลักษณ์ของแรงศรัทธาของประชาชนไทยทั้งมวล
2. ผู้นำตามการใช้อำนาจ
2.1
ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leadership) หรือ อัตนิยม คือใช้อำนาจต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในการสั่งการแบบเผด็จการโดยรวบอำนาจ
ไม่ให้โอกาสแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
ตั้งตัวเป็นผู้บงการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังโดยเด็ดขาด
ปฏิบัติการแบบนี้เรียกว่า One Man Show อยู่ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน
เช่น ฮิตเลอร์
2.2 ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือ Free-rein Leadership ผู้นำแบบนี้เกือบไม่มีลักษณะเป็นผู้นำเหลืออยู่เลย
คือ ปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำกิจการใด ๆ ก็ตามได้โดยเสรี
ซึ่งการกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้
และตนเป็นผู้ดูแลให้กิจการดำเนินไปได้โดยถูกต้องเท่านั้น
มีการตรวจตราน้อยมากและไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานใด ๆ ทั้งสิ้น
2.3 ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) ผู้นำแบบนี้ เป็นผู้นำที่ประมวลเอาความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะจากคณะบุคคลที่อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มาประชุมร่วมกัน
อภิปรายแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำเอาความคิดที่ดีที่สุดมาใช้ ฉะนั้น
นโยบายและคำสั่งจึงมีลักษณะเป็นของบุคคลโดยเสียงข้างมาก
3. ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก
จำแนกเป็น 3 แบบ คือ
3.1 ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership) ผู้นำแบบนี้ ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่ คือทำตนเป็นพ่อแม่เห็น ผู้อื่นเป็นเด็ก อาจจะแสดงออกมาในบทบาทของพ่อแม่ที่อบอุ่น ใจดี ให้กำลังใจ หรืออาจแสดงออกตรงกันข้ามในลักษณะการตำหนิติเตียนวิพากษ์ วิจารณ์ คาดโทษ แสดงอำนาจ
3.1 ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership) ผู้นำแบบนี้ ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่ คือทำตนเป็นพ่อแม่เห็น ผู้อื่นเป็นเด็ก อาจจะแสดงออกมาในบทบาทของพ่อแม่ที่อบอุ่น ใจดี ให้กำลังใจ หรืออาจแสดงออกตรงกันข้ามในลักษณะการตำหนิติเตียนวิพากษ์ วิจารณ์ คาดโทษ แสดงอำนาจ
3.2
ผู้นำแบบนักการเมือง (Manipulater Leadership) ผู้นำแบบนี้พยายามสะสมและใช้อำนาจ
โดยอาศัยความรอบรู้และตำแหน่งหน้าที่การงานของคนอื่นมาแอบอ้างเพื่อให้ตนได้มีความสำคัญและเข้ากับสถานการณ์นั้น
ๆ ได้ ผู้นำแบบนี้เข้าทำนองว่ายืมมือ
ของผู้บังคับบัญชาของผู้นำแบบนี้อีกชั้นหนึ่ง
โดยเสนอขอให้สั่งการเพื่อประโยชน์แก่การสร้างอิทธิให้แก่ตนเอง
3.3
ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Leadership) ผู้นำแบบนี้เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เป็นผู้นำตามความหมายทางการบริหาร
เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ Staff ผู้นำแบบนี้มักเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะอย่าง
เช่น คุณหมอพรทิพย์ มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ DNAถ้าพิจารณาจากบุคลิกภาพอีริก
เบิร์น จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ได้วิเคราะห์โครงสร้างของบุคลิกภาพของคนว่ามีอยู่ 3
องค์ประกอบ คือภาวะของความเป็นเด็ก (Child egostate )
ภาวะของการเป็นผู้ใหญ่ (Adult egostate ) และภาวะของความเป็นผู้ปกครอง (Parents egostate)
ก็จะมองผู้นำได้เป็น 3 แบบ คือภาวะความเป็นเด็ก ผู้ใหญ่
พ่อแม่ ในแบบผู้นำ
ผู้นำยุคใหม่
คุณสมบัติของผู้นำตามอักษรแต่ละตัวในคำว่า
LEADERSHIP มีความหมายบ่งชี้ถึงลักษณะต่างๆ
ของผู้นำที่ดี ดังนี้
1.
L คือ Listen เป็นผู้ฟังที่ดี..
2.
E คือ Explain สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ
ให้เข้าใจได้..
3.
A คือ Assist ช่วยเหลือเมื่อควรช่วย…
4.
D คือ Discuss รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น..
5.
E คือ Evaluation ประเมินผลการปฏิบัติงาน..
6.
R คือ Response แจ้งข้อมูลตอบกลับ…
7.
S คือ Salute ทักทายปราศรัย...
8.
H คือ Health มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ..
9.
I คือ Inspire รู้จักกระตุ้นและให้กำลังใจลูกน้อง..
10.
P คือ Patient มีความอดทนเป็นเลิศนั่นเอง..
ผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1.
ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ (Line Manager)
2. ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ (Staff Manager)
3. ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน (Functional
Manager)
4. ผู้บริหารทั่วไป (General Manager)
5. ผู้บริหาร (Administrator)
คุณลักษณะของผู้บริหาร
นักบริหารมืออาชีพได้สรุปคุณลักษณะดังนี้
1.
Vision เป็นผู้มีวิสัยทัศน์
2.
Charisma เป็นผู้มีเสน่ห์ มีแรงดึงดูด สร้างความเชื่อให้คนเกิดความศรัทธา คล้อยตามได้
3.
Integrity มีความเป็นปึกแผ่น
เหนียวแน่น
4.
Self – Less ทำอะไรไม่นึกถึงตนเองแต่คำนึงถึงส่วนรวม
5.
Courage มีความกล้าหาญ
6.
Uncompromising ไม่ยอมอ่อนในเรื่องบางเรื่อง
7.
High Ground ความมีมาตรฐานในตัวเองมีความซื่อสัตย์ และมีความโปร่งใสสูง
8.
Listening รู้จักฟัง
9.
Fairness มีความยุติธรรมเที่ยงธรรม
10. Sense of
Time มีสติ
รู้ทันเหตุการณ์ว่าต้องทำอะไร
11. Know Others Know
Oneself เข้าใจคนอื่นและเข้าใจตนเอง
หรือรู้เขารู้เรา
12. Judgment ยุติธรรม
13. Inspiring มีความมุ่งมั่น
14. Faith มีความเชื่อมั่น ศรัทธา
15. Institutional มีความเป็นองค์กรนั้น
การบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย
ทักษะของผู้บริหาร
Robert L. Katz ได้เสนอว่าทักษะของผู้บริหารที่สำคัญมี
3 อย่าง คือ
1) ทักษะด้านเทคนิค (Technical
Skills)
2) ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์
(Human Skills)
3) ทักษะด้านการประสมแนวความคิด (Conceptual
Skill)
กิจกรรม
ชื่อ "ฉันนักบริหาร"
RATTANAPORN
R-recommend-แนะนำ
A-accommodate-ทำให้เหมาะ
T-talk-พูด
T-techich-วิธีการ,ศิลปะในการทำ
A-accurate-แน่นอน เที่ยงตรง
N-neutral-เป็นกลาง
A-administrate-บริหาร ปกครอง
P-participate-มีส่วนร่วม
O-optimist-มองโลกในแง่ดี
R-rational-มีเหตุผล
N-noble-สง่า
การนำไปใช้
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้เกี่ยวกับรายวิชาการจักการบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีทั้ง ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี ประเภท บทบาท หน้าที่ของผู้บริหาร รูปแบบ การจัดโครสร้าง ระบบงาน บุคลิกภาพ คุณลักษณะ การดำเนินการ การติดตามนิเทศ การส่งเสริม เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาในอนาคต
วิธีการสอน
ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
ระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา แนะนำการนำเสนอ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน มีใบบันทึกการเข้าเรียนเพื่อฝึกให้มีความรับผิดชอบในการมาเรียน
ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง
ประเมิน
ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน - มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น