วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560
เวลาเรียน 8.30 - 11.30 น.


ความรู้ที่ได้รับจากการเรีย
กิจกรรม
นำเสนอโมเดลโรงเรียน










โรงเรียน Charisma International 
โดย 
  1. นางสาวชณาภา    คะปัญญา  
  2. นางสาวเจนจิรา เทียมนิล 
  3. นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น 
  4. นางสาวยุภา ธรรมโคตร
  5. นางสาววราภรณ์ แทนคำ
  6. นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์ 
  7. นางสาวชนากานต์ พงศ์สิทธิศักดิ์
  8. นางสาวประภัสสร สีหบุตร





โดย
1.นางสาว ประภัสสร คำบอนพิทักษ์
2.นางสาว รัชดา เทพเรียน
3.นางสาว กมลรัตน์ มาลัย
4.นางสาว สุทธิกานต์ กางพาพันธ์
5.นางสาว ศุทธินี โนนริบูรณ์
6.นางสาว ภัทรวรรณ หนูแก้ว
7.นางสาว วัชรี วงศ์สะอาด
8.นางสาว วันเพ็ญ  ใหม่สุด



โดย
1. นางสาวจงรักษ์             หลาวเหล็ก           
2. นางสาวเปมิกา             ชุติมาสวรรค์       
3. นางสาวจรีพร               เฉลิมจาน         
4. นางสาวกรกช               เดชประเสริฐ       
5. นางสาวปรางชมพู         บุญชม                
6. นางสาวปัณฑิตา            คล้ายสิงห์         
7. นางสาวชนากานต์         แสนสุข                
8. นางสาสุจิตรา                 มาวงษ์   


การนำไปใช้
   นำหลักการและแนวคิดการบริหารโรงเรียนและการเป็นผู้บริหารที่ดีมีคุณภาพ ไปใช้ในอนาคต ผู้นำต้องลงมือทำก่อน เพื่อให้เห็นว่าคนอื่นๆหากพยายามก็สามารถทำได้เช่นกัน ทำตัวให้เป็นแบบอย่างไม่ใช่เพียงแค่สั่ง จะทำให้องค์กรนั้นหน้าอยู่ อบอุ่น 


วิธีการสอน
     ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
ระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา แนะนำการนำเสนอ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน มีใบบันทึกการเข้าเรียนเพื่อฝึกให้มีความรับผิดชอบในการมาเรียน



ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  ตนเอง -  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย 
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น 

วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560
เวลาเรียน 8.30 - 11.30 น.


ความรู้ที่ได้รับจากการเรีย
กิจกรรม
นำเสนอการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา














โดย 
  1. นางสาวชณาภา    คะปัญญา  
  2. นางสาวเจนจิรา เทียมนิล 
  3. นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น 
  4. นางสาวยุภา ธรรมโคตร
  5. นางสาววราภรณ์ แทนคำ
  6. นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์ 
  7. นางสาวชนากานต์ พงศ์สิทธิศักดิ์
  8. นางสาวประภัสสร สีหบุตร







โดย
1.นางสาว ประภัสสร คำบอนพิทักษ์
2.นางสาว รัชดา เทพเรียน
3.นางสาว กมลรัตน์ มาลัย
4.นางสาว สุทธิกานต์ กางพาพันธ์
5.นางสาว ศุทธินี โนนริบูรณ์
6.นางสาว ภัทรวรรณ หนูแก้ว
7.นางสาว วัชรี วงศ์สะอาด
8.นางสาว วันเพ็ญ  ใหม่สุด


โดย
1. นางสาวจงรักษ์             หลาวเหล็ก           
2. นางสาวเปมิกา             ชุติมาสวรรค์       
3. นางสาวจรีพร               เฉลิมจาน         
4. นางสาวกรกช               เดชประเสริฐ       
5. นางสาวปรางชมพู         บุญชม                
6. นางสาวปัณฑิตา            คล้ายสิงห์         
7. นางสาวชนากานต์         แสนสุข                
8. นางสาสุจิตรา                 มาวงษ์   


การนำไปใช้
   นำหลักการและแนวคิดการบริหารโรงเรียนและการเป็นผู้บริหารที่ดีมีคุณภาพ ไปใช้ในอนาคต ผู้นำต้องลงมือทำก่อน เพื่อให้เห็นว่าคนอื่นๆหากพยายามก็สามารถทำได้เช่นกัน ทำตัวให้เป็นแบบอย่างไม่ใช่เพียงแค่สั่ง จะทำให้องค์กรนั้นหน้าอยู่ อบอุ่น 


วิธีการสอน
     ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
ระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา แนะนำการนำเสนอ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน มีใบบันทึกการเข้าเรียนเพื่อฝึกให้มีความรับผิดชอบในการมาเรียน



ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  ตนเอง -  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย 
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น 

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560
เวลาเรียน 8.30 - 11.30 น.


ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
นำเสนอคำคม

  
โดย นางสาวชนากานต์  พงษ์สิทธิศักดิ์



โดย นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์

การจัดตั้งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย





การนำไปใช้
     ทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้เกี่ยวกับรายหารจัดตั้งโรงเรียน การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีทั้ง ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี ประเภท บทบาท หน้าที่ของผู้บริหาร รูปแบบ การจัดโครสร้าง ระบบงาน บุคลิกภาพ คุณลักษณะ การดำเนินการ การติดตามนิเทศ การส่งเสริม เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาในอนาคต 


วิธีการสอน
     ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
ระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา แนะนำการนำเสนอ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน มีใบบันทึกการเข้าเรียนเพื่อฝึกให้มีความรับผิดชอบในการมาเรียน



ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  ตนเอง -  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย 
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น 

วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560
เวลาเรียน 8.30 - 11.30 น.


ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
นำเสนอคำคม


"ทุกคนเป็นอัจฉริยะ 

แต่ถ้าคุณตัดสินปลา

โดยความสามารถ

 ในการปืนต้นไม้

ทั้งชีวิตมันจะคิดว่ามันโง่"

โดย นางสาววัชรี  วงศ์สะอาด

อย่าพึ่งคิดบริหารธุระกิจ

ถ้าแค่...

"บริหารชีวิต"

ยังไม่เป็น  

โดย นางสาวยุภา  ธรรมโครต


กิจกรรม
แสดงบทบาทเกี่ยวกับผู้บริหาร
ผู้บริหารที่ไม่ดี
โดย
1. นางสาวจงรักษ์             หลาวเหล็ก            
2. นางสาวเปมิกา             ชุติมาสวรรค์        
3. นางสาวจรีพร               เฉลิมจาน          
4. นางสาวกรกช               เดชประเสริฐ        
5. นางสาวปรางชมพู         บุญชม                 
6. นางสาวปัณฑิตา            คล้ายสิงห์          
7. นางสาวชนากานต์         แสนสุข                 
8. นางสาสุจิตรา                 มาวงษ์    


ผู้บริหารที่ดีและไม่ดี

โดย 
  1. นางสาวชณาภา    คะปัญญา  
  2. นางสาวเจนจิรา เทียมนิล 
  3. นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น 
  4. นางสาวยุภา ธรรมโคตร
  5. นางสาววราภรณ์ แทนคำ
  6. นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์ 
  7. นางสาวชนากานต์ พงศ์สิทธิศักดิ์
  8. นางสาวประภัสสร สีหบุตร
ผู้บริหารที่ดี
โดย
1.นางสาว ประภัสสร คำบอนพิทักษ์
2.นางสาว รัชดา เทพเรียน
3.นางสาว กมลรัตน์ มาลัย
4.นางสาว สุทธิกานต์ กางพาพันธ์
5.นางสาว ศุทธินี โนนริบูรณ์
6.นางสาว ภัทรวรรณ หนูแก้ว
7.นางสาว วัชรี วงศ์สะอาด
8.นางสาว วันเพ็ญ  ใหม่สุด

การนำไปใช้
   การเป็นผู้บริหารนั้นต้องมีการวางตัวที่เหมาะสม สร้างทีมเวิร์คให้ได้ ต้องประสบความสำเร็จทุกคน ใช่แค่เพียงสำเร็จคนเดียวเท่านั้น


วิธีการสอน
     ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
ระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา แนะนำการนำเสนอ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน มีใบบันทึกการเข้าเรียนเพื่อฝึกให้มีความรับผิดชอบในการมาเรียน



ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  ตนเอง -  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย 
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น 

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560
เวลาเรียน 8.30 - 11.30 น.


ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
 เทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี
สำหรับการเป็นผู้บริหาร



ความหมายของบุคลิกภาพ
           ลักษณะทั้งภายนอกและภายในที่รวมอยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งและเป็นผลทำให้บุคคลนั้น มีความแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 2 สภาพ ด้วยกันคือ
          
            บุคลิกภาพภายนอก สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึกเลียนแบบ และสามารถวัดผลได้ทันที บุคลิกภาพภายนอกที่สำคัญที่สุด คือ บุคลิกภาพทางกายและวาจา
           
            บุคลิกภาพภายใน หมายถึง บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นส่วนที่สัมผัสได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการสัมผัส

ประเภทของบุคลิกภาพ

บุคลิกภาพภายนอก  คือ  สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกของแต่ละคนสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แบ่งได้เป็น  4 หมวด คือ
1.  รูปร่างหน้าตา

2.  การแต่งกาย
3.  กิริยาท่าทาง
4.  การพูด


บุคลิกภาพภายใน  คือ สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ หรืออุปนิสัยใจคอที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้  แก้ไขได้ยาก  เช่น

1. ความเชื่อมั่นในตนเอง                              

2. ความกระตือรือร้น
3. ความรอบรู้                                      
4. ความคิดริเริ่ม
5. ความจริงใจ                                     
6. ไหวพริบปฏิภาณ
7. ความรับผิดชอบ                                             
8. ความจำ
9. อารมณ์ขัน

การมองตัวเองในกระจกเงา
  • การมองเห็นตัวเอง
  • การยอมรับตัวเอง
  • การเข้าใจในตัวเอง
  • ความเชื่อถือตัวเอง
  • ความต้องการเปลี่ยนตัวเอง


รูปภาพให้แง่คิด...
จากรูปคุณมองเห็นน้ำในแก้วเป็นอย่างไร

มีแค่ครึ่งหรือมีตั้งครึ่ง




  ในแต่ละครั้งที่เราต้องพบเจอผู้คนในองค์กรหรือนอกองค์กร การสนทนา การแสดงความคิดเห็น หรือการพูดให้ความรู้ การนำเสนองานต่างๆ นั้น ควรประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 
  • เนื้อหาสาระของคำพูด 7% 
  • น้ำเสียง 38% 
  • กิริยาท่าทาง (บุคลิกภาพ) 55%

1.การใช้สายตา การมอง การสบสายตาขณะพูด  
2.การแต่งกาย  
3.ภาษาพูด จังหวะการพูด ระดับเสียง  
4.การเดิน / การนั่ง  
5.การแสดงออกและท่าทาง การไหว้ การรับไหว้
6.ความสะอาด
7.สุขภาพต้องดี คนป่วยคงไม่มีใครอยากเข้าใกล้

สาเหตุที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ คือความท้อถอย
        บุคลิกภาพที่ไม่สร้างสรรค์และอยู่ภายในตัวตนแล้วทำให้ความเป็นคนๆ นั้นไม่สมบูรณ์ ได้แก่ความท้อถอยแม้ว่าเป็นประโยคสั้นๆ แต่ถ้าอาการนี้ถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้ว อาการนี้จะเข้ามาทำลายความสมดุลในตัวเรา เข้ามาแทรกในความรู้สึกนึกคิดทำให้พลังและศักยภาพของเราลดน้อยลงกว่าครึ่ง ในเรื่องความท้อถอยมักเกิดขึ้นกับบุคคลที่อยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลในช่วงอายุอื่นจะไม่มีความท้อ บางท่านอาจเกิดอาการท้อเป็นช่วงๆ บางท่านโชคดีไม่รู้จักความท้อ 

ความท้อถอยสามารถสังเกตได้จากอาการ 3 ลักษณะ คือ
  • 1.ลักษณะของความท้อถอยทางด้านอารมณ์ หรือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความอ่อนล้า หมดเรี่ยวหมดแรง เกิดความเครียด ความคับข้องใจ ไม่สบอารมณ์  
  • 2. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ได้แก่ ลักษณะของบุคคลที่ไม่สนใจในพฤติกรรมของใครๆ ไม่ยินดียินร้าย ใครจะทักก็ช่าง ใครไม่ทักก็ช่าง ไม่ใส่ใจพฤติกรรมของคนอื่น มีเจตคติและแนวคิดที่ไม่ดีต่อคนอื่น มองคนอื่นในแง่ร้าย 
  • 3. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากการไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานของคนบางท่านอาจจะรู้สึกเองว่าตนเองไร้ความสามารถ การทำงานล้มเหลว งานไม่สมกับที่ตั้งใจไว้ บุคคลกลุ่มนี้จะมองคุณค่าของตนเองต่ำ

สาเหตุของความท้อถอย
ด้านบุคลิกภาพ 
               บุคลิกภาพที่พึ่งพาคนอื่น บุคลิกภาพที่ขาดความอดทน ขาดความอดกลั้น  บุคลิกภาพที่เชื่อมั่นตนเองสูง บุคลิกภาพที่มีความรับรู้ตนเองต่ำ จิตใจไม่มั่นคง ไม่มั่นใจในทุกเรื่อง 
 ด้านอายุ 
               บุคคลที่มีอายุน้อย ความท้อถอย มีมากกว่าบุคคลที่สูงอายุ ทั้งนี้เพราะความท้อถอยมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ วุฒิภาวะ การรู้จักชีวิตมากขึ้น 
ด้านสถานภาพการสมรส 
               ความท้อมักเกิดกับคนโสดมากกว่าคนสมรสแล้ว ความท้อยังสัมพันธ์กับความเหงา คนโสดทั้งหญิงและชาย ถ้าเกิดอาการท้อถอย บุคคลในกลุ่มนี่จะเกิดอาการนานและค่อนข้างรุนแรง 
ด้านการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ 
               เริ่มตั้งแต่สองปีแรกของการทำงานบุคคลจะเกิดความท้อได้ง่าย ยิ่งปฏิบัติงานแบบไม่มีใครช่วยใคร บุคคลยิ่งเกิดอาการท้อมากขึ้น 

แนวทางและวิธีการในการแก้ไขอาการท้อถอย
1. ทุกสิ่งทุกอย่างต้องแก้ไขที่ตัวเราเองเท่านั้น 
2. อย่าเป็นคนตั้งความหวัง ความปรารถนาที่สูงสุดเอื้อม 
3. สร้างเจคติเรื่องงานใหม่ให้ท่านคิดว่า
งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุขทำงานให้สนุกเป็นสุขเมื่อทำงาน
4. มองหาจุดมุ่งหมายในชีวิตใหม่ 

ครูกับการพัฒนาตน
. การพัฒนาตนเป็นการที่บุคคลพยายามหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ตนเองก้าวไปสู่การเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ ในขอบเขต
   ที่มีความพอเหมาะพอดีกับความสามารถของผู้นั้น และเหมาะสมกับค่านิยมของสังคม เพื่อการมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข การพัฒนาคนนับเป็นสิ่งสำคัญในอันที่จะนำไปสู่การพัฒนาอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นครู

ครูควรพัฒนาตนเองใน 2 ลักษณะคือ
     1. การพัฒนาตนเองในด้านวิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่
 - การพัฒนาในด้านความรู้
 - การพัฒนาในด้านเทคโนโลยี
 - การพัฒนาในด้านคุณลักษณะกับเจตคติ
      
      2. การพัฒนาตนในด้านการเป็นสมาชิกของสังคม เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  - การรู้จักตนเองและการเข้าใจตนเอง
  - การสำรวจตนเอง
  - การปรบปรุงตนเองในด้าน การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก ภายใน การพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดี การพัฒนามนุษยสัมพันธ์ การพัฒนาการเรียนรู้


การพัฒนาตนเองควรประกอบด้วยขั้นตอน 
ดังนี้
       1.พยายามค้นพบตนเอง ทำความรู้จักตนเอง โดยหมั่นตรวจตราพิจารณาตนเองถึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนการกระทำของตนเอง นอกจากนี้ควรสนใจรับฟังข้อคิดเห็น หรือคำวิจารณ์ของบุคคลอื่นที่มีต่อตัวเราบ้าง ต่อจากนั้นให้หันกลับมาพิจารณาตนเองในแง่มุมเหล่านี้
            1.1 ตัวของเราที่เป็นจริงเป็นอย่างไร
            1.2 ตัวของเราที่รับรู้เป็นอย่างไร
            1.3 ตัวของเราที่เราอยากจะเป็น เป็นอย่างไร
        2.  เมื่อได้พิจารณาตนเองแล้ว รู้จักตนเองแล้ว เรายอมรับได้ไหมว่า สิ่งนั้นคือตัวเรา การยอมรับตนเองนั้น ควรจะยอมรับทั้งในส่วนที่เป็นจุดอ่อน และจุดเด่นไปด้วยกัน มิใช้จะยอมรับแต่จุดเด่น แล้วไม่สนใจจุดอ่อนโดยไม่ยอมรับจุดอ่อน
        3.  ท้ายที่สุด คือ การหาทางพัฒนาจุดอ่อนหรือส่วนที่เราไม่พอใจที่อยู่ในตัวเรา (bed me) ให้ดีขึ้น (good me)

หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ
การยืน เดิน นั่งเป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอิริยาบถคือการเดิน ยืน นั่ง เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม

               การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การรู้จักกราบไหว้ที่ถูกวิธี และถูกกาลเทศะ การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่างๆการไปเยี่ยมคนป่วยการมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น
               บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี


แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพ
การรักษาสุขภาพอนามัย

      ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
      -  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
      -  ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มหรือลดผิดปกติ
      -  ละเว้นการสูบบุหรี่หรือยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
      -  ไม่ดื่มสิ่งของที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
      -  พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ วันละ 7-8 ชม.
      -  รักษาอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ


การดูแลร่างกาย

    -  รักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน
    -  ดูแลรักษาเส้นผมและทรงผมให้เรียบร้อยทั้งด้านความสะอาดและรูปทรง
    -  โกนหนวดเคราให้เกลี้ยงเกลา ตัดและขริบให้เรียบร้อย
    -  รักษาผิวพรรณให้สะอาดสดชื่นอยู่เสมอ อย่าให้ผิวแห้งกร้าน
    -  รักษากลิ่นตัว  
    -  รู้จักการแต่งหน้าแต่พองาม
    -  ดูแลเล็บมือ เล็บเท้า ให้สะอาดอยู่เสมอ
    -  ปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นในที่สวมใส่ทุกวัน
    -  ควรมีการเช็คร่างกายเป็นประจำทุกปี
    -  เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติรีบไปปรึกษาแพทย์


การแต่งกาย

     สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักรีดให้เรียบ
     -  สีสันไม่ฉูดฉาดควรเลือกสีให้เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณของตนเอง
     -  กระเป๋าถือและรองเท้า ควรใช้หนังที่มีคุณภาพดี สีเรียบ สำรวจส้นรองเท้าจัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อย
     -  แต่งหน้าให้แนบเนียน ไม่แต่งเข้มผิดธรรมชาติ เลือกใช้เครื่องสำอางที่มีคุณภาพดี
     -  เล็บและการทาเล็บ ไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไป ควรเลือกสีกลาง ๆ อย่าปล่อยให้สีถลอกจะไม่น่าดู
     -  ผม หมั่นสระให้สะอาด  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง  แปรงหวีให้เรียบร้อย เลือกทรงผมที่รับกับใบหน้า
     -  เครื่องประดับ ควรใช้เพื่อเสริมการแต่งกายให้ดูดีขึ้น แต่ไม่ควรใช้เครื่องประดับมากจนเกินไปจนดูสะดุดตารกรุงรังไปหมด
     -  ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
     -  ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ



อารมณ์

        รู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ไปตามใจตนเอง  คนที่ควบคุมอารมณ์ตนเองได้จะได้เปรียบและจะเอาชนะเหตุการณ์ต่าง ๆ

        ที่เกิดขึ้นได้  ในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนอารมณ์กันอยู่เสมอ

        ฉะนั้น บุคคลใดที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกภาพของตนให้ดีขึ้นจะต้องเป็นคนรู้จักอดทนใจเย็นเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเกิดขึ้น


ความเชื่อมั่นในตนเอง

      -  ยอมรับในความสามารถของตนเอง
      -  อย่าเล็งผลเลิศในการทำงานจนเกินไป
      -  อย่าถือคติว่าการทำงานสิ่งใดเมื่อทำแล้วต้องดีที่สุด
      -  อย่านำความเก่งของผู้อื่นมาทับถมตนเอง
      -  หมั่นฝึกจิตใจตนเองให้ชนะความกลัวให้ได้


การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด
ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี
    ไม่มองคนในแง่ร้ายจิตใจก็เป็นสุข ไม่มีความกังวล ดังนั้นจึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้

    1.  มีความเชื่อมั่นในตนเองในการกระทำในสิ่งต่าง ๆ
    2.  มีความซื่อสัตย์ กระทำตนให้ผู้อื่นเชื่อถือเรา แล้วความไว้วางใจจะตามมา มีเรื่องสำคัญเขาก็จะให้เราทำ
    3.  มีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับผู้ที่มอบหมายไว้วางใจให้เราทำ
    4.  มีความกระตือรือร้น ที่อยากจะทำ เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
    5.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ
    6.  มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีความห่วงใยจะต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา
    7.  มีความรอบรู้                    

    8.  ห่วงตัวเอง เติมชีวิตให้กับตัวเอง

    9.  มีความจำแม่น                

   10. วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ

การพัฒนาบุคลิกภาพด้านกายบริหารทรวดทรง
องค์ประกอบของทรวดทรง ขึ้นอยู่กับกลไกของการเคลื่อนไหวของร่างกายและโครงสร้างของร่างกายไม่ว่าหญิงหรือชายก็ชอบที่จะมีรูปร่างงามทั้งนั้น ผู้ชายก็ต้องการมีรูปร่างสมาร์ท ผู้หญิงก็ต้องการมีเอวบาง ร่างน้อย มีสุขภาพดี การมีรูปร่างงาม สุขภาพดี เกิดจากการพัฒนาตัวเราเอง เราเป็นผู้วางแผนในชีวิตของเราเอง

               ทรวดทรงอาจไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต แต่ส่วนสัดและท่าทาง ทำให้คนทุกคนดูแตกต่างกันไป บุคลิกที่ไม่ดีแสดงว่าเจ้าของเรือนร่างขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ถ้าได้เรียนรู้วิธีเสริมสร้างเสน่ห์ให้กับบุคลิกภาพของตนเองแล้ว จะไม่เพียงทำให้มีรูปร่างสง่างามเท่านั้น ยังสามารถทำให้การปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่น  งานก็มีประสิทธิภาพอีกด้วย ดังนั้นจึงควรใช้เวลาในการบริหารทรวดทรงของตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะสุขภาพที่ดี และทรวดทรงที่งดงามอีกด้วย



การปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน
  •      การยอมรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง 
  •      การปรับปรุงในส่วนที่จะปรับปรุงได้ 
  •      การใช้สิ่งอื่นๆ เพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพ 

             การส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดีควรส่งเสริมคุณภาพจิตสาธารณะมากำกับ เพื่อบุคคลจะได้ลดละความเห็นแก่ตนในระดับที่พอดำรงชีวิตอยู่ได้ เสียสละ เกื้อกูลคนอื่น เป็นผู้รับในบางโอกาสและเป็นผู้ให้ในบางโอกาส มีจิตใจที่ดีงาม มีร่างกายที่สะอาดสดใสก็เท่ากับว่าบุคคลได้ส่งเสริมหรือพัฒนาบุคลิกภาพแล้วนั่นเอง

การพัฒนาบุคลิกภาพด้านการเรียนรู้
ในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นครูจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ให้ตรงกับตนเองอยู่เสมอ เช่น
1. การฟัง
2. การอ่าน
3. การเขียน
4. การสังเกต
5. การคิด
6. การทดลอง

การนำไปใช้
     ทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับการเป็นผู้บริหาร และเป็นแนวทางการศึกษาในอนาคต 


วิธีการสอน
     ถาม-ตอบ ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความสมบูรณ์  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 
ระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา แนะนำการนำเสนอ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน มีใบบันทึกการเข้าเรียนเพื่อฝึกให้มีความรับผิดชอบในการมาเรียน



ประเมินสภาพในห้องเรียน
รูปแบบการนั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้มองเห็นผู้สอนอย่างทั่วถึง และ ผู้สอนก็สามารถมองเห็นผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง 

ประเมิน
  ตนเอง -  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย 
  เพื่อน   -  มีการให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  อาจารย์ - การสอนใช้เสียงดังชัดเจน  อธิบายถึงเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอย่างสนุกสนานและเข้าใจในเรื่องนั้นๆเพิ่มยิ่งขึ้น